main



| บันทึกของบรรณาธิการ (ตอนที่ 1) | บันทึกของบรรณาธิการ (ตอนที่ 2) |
 | สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์กว่าจะเป็นวันนี้ |


บันทึกของเลขาธิการ
(ตอนที่ 1)

เนื่องจากในปัจจุบันนี้ การแพทย์ทหารของประเทศไทยได้มีการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางยิ่งกว่าในสมัยก่อนเป็นอันมาก เพื่อให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับการขยายตัวของกองทัพ ย่อมเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การแพทย์ทหารนั้นมีลักษณะผิดแผกไปจากการแพทย์พลเรือนอยู่หลายประการ นอกจากนั้น การแพทย์ของแต่ละกองทัพ คือ กองทัพบก และกองทัพอากาศ ก็ยังแตกต่างกันในด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับยุทธวิธี นายแพทย์ใหญ่และผู้ชำนาญการทั้งสามกองทัพ จึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในอันที่จะก่อตั้งสมาคมแพทย์ทหาร ร่วมกันตามแบบอย่างสมาคม แพทย์ทหารในสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ไม่แต่ เฉพาะในวงการแพทย์ทหารทั้งสามกองทัพเท่านั้นแต่ยังเป็นสื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างการแพทย์ทหารกับการแพทย์พลเรือนด้วยการประชุมผู้ริเริ่มจัดตั้งสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรม แพทย์ทหารบก ปากคลองหลอด เมื่อ ๑๑ พ.ค. ๙๘ และได้มีการประชุมกันอีกหลายครั้ง ซึ่งต่อมา ก็ได้เชิญหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารบกและหัวหน้ากองแพทย์กรมตำรวจ มาร่วมปรึกษา หารือด้วย ที่ประชุมได้ลงมติให้ข้าราชการในสายการแพทย์ของกรมตำรวจมีส่วนร่วมในการบริหาร กิจการของสมาคม ตลอดจนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกเช่นเดียวกับข้าราชการในสายการแพทย์ของ
ทั้งสามกองทัพ บรรดาผู้ริเริ่มได้ช่วยกันออกแบบเครื่องหมายของสมาคมและร่างข้อบังคับของ สมาคมขึ้น ซึ่งได้มีการแก้ไขยกร่างใหม่อีกหลายครั้ง จนปรากฏผลดังที่ได้นำมาลงมีพิมพ์ไว้ใน หนังสือที่ระลึกนี้แล้วเมื่อได้ร่างข้อบังคับสมาคมขึ้นเรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมผู้ริเริ่มจึงได้มอบหมายให้นายแพทย์ใหญ่ทหารบกเป็นผู้ดำเนินการทำเรื่องราวขออนุมัติผู้บังคับบัญชาเพื่อจัดตั้งสมาคมแพทย์ทหารแห่ง ประเทศไทย โดยขอให้อยู่ในความอุปการะของกระทรวงกลาโหม ภายหลังที่นายแพทย์ใหญ่ทหาร บกได้ดำเนินการตามที่ได้รัมอบหมาย เมื่อ ๔
ก.พ. ๒๕๐๐ แล้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลา โหม(คือท่านหัวหน้าคณะปฏิวัติในปัจจุบันนี้) ก็ได้อนุมัติในหลักการ เมื่อ ๒๙ มี.ค. ๒๕๐๐ แต่ขอ ทราบเงื่อนไขที่จะต้องอุปการะตลอดจนความร่วมมือของกองทัพต่างๆ ก่อน กรมแพทย์ของทั้งสาม กองทัพจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกัน และได้เสนอเงื่อนไขที่จะขอรับความอุปการะจากกระทรวง กลาโหมไปเมื่อ ๑๗ เม.ย.๒๕๐๐ พร้อมทั้งขอเงินอุดหนุนด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม คนต่อมา (คือท่านรองหัวหน้าคณะปฏิวัติในปัจจุบันนี้) ได้มีบัญชาเมื่อ ๑๘ พ.ค. ๒๕๐๐
ให้กรม แพทย์ทหารบกชี้แจงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขอเงินอุดหนุนสำหรับเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอ
อนุมัติในหลักการก่อน กรมแพทย์ของทั้งสามกองทัพก็ได้มีการประชุมหารือกันอีกครั้งหนึ่ง และได้
บันทึกชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปตามบัญชาของรัฐมนตรีฯ เมื่อ ๑๐ ก.ค. ๒๕๐๐ แต่ก่อนที่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะนำบันทึกนี้เสนอรัฐมนตรีฯได้สั่งผ่านกองทัพบกมายังกรมแพทย์ ทหารบก เมื่อ ๒๕ ก.ค. ๒๕๐๐ ให้ดำเนินการขอจดทะเบียนสมาคมต่อกระทรวงมหาดไทยตาม กฎหมาย แล้วจึงดำเนินการในเรื่องเงินต่อไปตามข้อเสนอของกรมการเงินกลาโหมกรมแพทย์ทหารบกจึงได้เชิญผู้ริเริ่มมาร่วมประชุมเมื่อ ๘ ส.ค. ๒๕๐๐และที่ประชุมได้ลงมติ แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสมาคมขึ้นเป็นชุดแรก รวม ๑๑
นาย ตามข้อบังคับของสมาคม คือ
๑. พล.ต.ถนอม อุปถัมภานนท์ เป็น นายก
๒. พล.อ.ต.เจือ ปุญโสนี เป็น รองนายก
๓. พล.ร.ต.หลวงสุวิช่านแพทย์ ร.น. เป็น นายกสำรอง
๔. พ.อ.ชม ศรทัตต์ เป็น เลขาธิการ
๕. พ.อ.พิชัย รัศมิทัต เป็น เหรัญญิก
๖. พล.จ.พิมล นพรัตน เป็น ปฏิคม
๗. พล.ต.สงวน โรจนวงศ์ เป็น กรรมการวิทยาการ
๘. พล.ร.ต.กมล ชัมพุนท์พงศ์ ร.น. เป็น กรรมการวิทยาการ
๙. พล.อ.ต.ทิพย์ นาถสุภา เป็น กรรมการวิทยาการ
๑๐. พล.ต.จ.แสวง วัจนะสวัสดิ์ เป็น กรรมการวิทยาการ
๑๑. น.อ.โกเมท เครือตราชู ร.น. เป็น บรรณารักษ์

คณะกรรมการอำนวยการสมาคมชุดแรกนี้ได้ดำเนินการจดทะเบียนสมาคมตามกฎหมายเสร็จสิ้นแล้วเมื่อ ๑๙ ก.พ. ๐๑ และกรมแพทย์ทหารบกได้บันทึกเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมผ่านกองทัพบก เมื่อ ๒๖ ก.พ. ๐๑ เพื่อเรียนให้ทราบถึงการจดทะเบียนสมาคมตาม กฎหมาย กับขอเงินอุดหนุนตั้งแต่ปี ๐๑ เป็นต้นไป พร้อมกับขออนุญาตให้ข้าราชการกลาโหม ประจำการชั้นสัญญาบัตรเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมนี้ โดยไม่ต้องรายงานขออนุญาตผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้นเป็นรายบุคคล ซึ่งในที่สุดก็ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนต่อมา (คือท่านรองหัวหน้าคณะปฏิวัติในปัจจุบัน)
ตามที่กรมแพทย์ทหารบกเสนอไปทุกประการ นับว่า เป็นศุภนิมิตที่ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้ใหญ่ทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมพิจารณาเรื่องการจัดตั้งสมาคมแพทย์ ทหารแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการจัดตั้งสมาคมนี้
จึงได้กรุณาให้ความสนับสนุน เป็นอย่างดีตลอดมาตราบจนกระทั่งการจัดตั้งสมาคมได้สำเร็จลุล่วงสมความปรารถนาของพวกเรา ชาวแพทย์ทหารนอกจากจะได้รับความอุปการะจากกระทรวงกลาโหมแล้ว สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยยังได้มีหนังสือไปยังกระทรวงกลาโหมเมื่อ ๙ ส.ค.๐๑ ขอให้รัฐบาลสนับสนุนสมาคมนี้ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือลง ๒๘ ส.ค. ๐๑ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารเพื่อขอให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อ ๑๐ ก.ย. ๐๑ ลง มติเห็นชอบด้วยและได้สั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนสมาคมแพทย์ทหาร แห่งประเทศไทยต่อไป ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารได้มีหนังสือแจ้งมาให้กระทรวง กลาโหมทราบเมื่อ ๑๒ ก.ย. ๐๑ พร้อมกับได้แจ้งให้กระทรวงสาธารสุขกระทรวงมหาดไทยทราบ ด้วยแล้วเป็นอันว่าการดำเนินงานของสมาคมในขั้นเริ่มต้นนี้ก็ได้บรรลุผลตามโครงการที่ได้วางไว้แล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ พล.อ.ต.ทิพย์ นาถสุภา ซึ่งเป็นกรรมการวิทยาการ และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง สำคัญคนหนึ่งในบรรดาผู้ริเริ่มจัดตั้งสมาคม ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ท่านผู้นี้ได้แสดง ความจำนงที่จะขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการตั้งแต่ครั้งสมาคมยังกำลังดำเนินการขออนุญาตจด ทะเบียนตามกฎหมายอยู่ คณะกรรมการอำนวยการสมาคมจึงได้ขอร้องให้ท่านคงเป็นกรรมการต่อ ไปก่อน จนกว่าการจดทะเบียนจะเสร็จสิ้น และเมื่อสมาคมได้ตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ท่าน ผู้นี้ก็ยังคงยืนยันที่จะขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการ โดยได้ปวารณาว่าถึงแม้จะพ้นจากหน้าที่กรรมการไปแล้วก็ยังยินดีสมัครเป็นสมาชิกของสมาคม และยินดีช่วยเหลือสมาคมในกิจการต่าง ๆ เท่าที่สามารถจะกระทำได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการอำนวยการสมาคมจึงได้ลงมติในการประชุม เมื่อ ๘ ส.ค. ๐๑ อนุญาตให้ พล.อ.ต.ทิพย์ นาถสุภา ออกจากกรรมการได้ตามที่ขอลา และได้ตกลง แต่ตั้งให้ น.ท.ชลิต จุลโมกข์ สมาชิกสังกัดกองทัพอากาศเป็นกรรมการวิทยาการแทนในขณะนี้สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยยังไม่มีสถานที่อันเป็นของสมาคมเอง เดิมที เมื่อแรกตั้งจึงต้องอาศัยกรมแพทย์ทหารบกที่ปากคลองหลอดเป็นที่ตั้งสำนักงานของสมาคมชั่วคราว ดังที่ได้จดทะเบียนไว้ ต่อมานายกสมาคมและกรรมการอำนวยการอื่น ๆ อีกหลายท่านที่สังกัด กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกรมตำรวจ ได้พิจารณาเห็นว่าตึกพยาธิวิทยาของกรมแพทย์ทหาร บก ซึ่งตั้งอยู่ที่วังพญาไทนั้นเป็นแหล่งกลางซึ่งสมาชิกจะทำการติดต่อหรือมาร่วมประชุมกันได้สะดวกจึงได้ลงมติโดยความเห็นชอบของนายแพทย์ใหญ่ทหารบกให้ยกป้ายสมาคมขึ้นที่ริมรั้วหน้าตึกพยาธิ วิทยา (ตึกนี้ในปัจจุบันเป็นตึกของสถาบันพยาธิวิทยา กรมแพทย์ทหารบก) และจะได้ขอใช้ห้องใด ห้องหนึ่งในตึกนี้เป็นสำนักงานของสมาคมในโอกาสต่อไปด้วย สำหรับป้ายของสมาคมนั้น บริษัท วิจิตรก่อสร้างได้เอื้อเฟื้อจัดทำให้โดยไม่คิดมูลค่าและทางโรงพยาบา สำหรับป้ายของสมาคมนั้น บริษัท วิจิตรก่อสร้างได้เอื้อเฟื้อจัดทำให้โดยไม่คิดมูลค่าและทางโรงพยาบา