บันทึกของเลขาธิการ(ตอนที่ 3)
พล.ต.ประสาท เหล่าถาวร*
พ.อ.ชะเลง ฉายวิโรจน์**
มีคำถามอยู่เสมอว่ามีเลขาธิการแล้วทำไมต้องมีเลขานุการ องค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์หรือ Non ฌGroverment Organization (NGO) ที่มีการบริหารจัดการในรูปแบบของสมาคม, มูลนิธิ, สภา, สมัชชา, ชมรม, กลุ่มสาขาวิชาชีพ เมื่อเข้าไปศึกษาระบบการบริหารจัดการองค์กรส่วนใหญ่มีการจัดหน่วยที่มี นายก, ประธาน, ผู้จัดการ, เลขาธิการ, เลขานุการ ใช้ชื่อแตกต่างกันออกไปตามความนิยมชมชอบของผู้ก่อการหรือผู้ก่อตั้งองค์กรนั้นๆ ไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจนเป็นบรรทัดฐาน เมื่อลองเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เลขาธิการ น.ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงตำแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการรัฐสภา เลขาธิการสมาคม. (ส.เลขาธิการี ว่า เสมียนของพระเจ้าแผ่นดิน). เลขานุการ น. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือหรืออื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง. SB-EDS Moderm English-Thai Dictionary ฉบับ ดร.รักษ์ เที่ยงบูรณธรรม พ.ศ. 2541 :Secretary General เลขาธิการใหญ่, หัวหน้าหน่วยงาน. Secretary เลขานุการ, เลขาธิการ, เลขานุการส่วนตัว, ผู้ทำหนังสือ, รัฐมนตรี, เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของรัฐ, โต๊ะเขียนหนังสือแบบหนึ่งที่มีตู้หนังสือ. Sec-re-tary secretaries, confidential employee, secretary, fr. 1: one employed to handle correspondence and manage routine and detail work for a superior 2 a: an officer of a business concern who may kiip records of direc-tors and stockholders meetings and of stock ownership and transfer and help supervise the companys legal interests b: an officer of an organization or society responsible for its records and correspondence. มีผู้สรุปไว้ง่ายๆ ว่า เลขาธิการ หมายถึงผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่สมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของสมาคม เลขานุการ หมายถึงเป็นผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริหารขององค์กรในการบริหารจัดการงานขององค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบาย และเป้าหมายขององค์กร ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการให้เป็นไปด้วยความราบรื่น และรวดเร็ว
สำหรับสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เช่นกัน ตำแหน่งเลขาธิการเป็นตำแหน่งหลักกล่าว คือเป็นคณะกรรมการอำนวยการตามข้อบังคับสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.........ส่วนตำแหน่งเลขานุการ เป็นเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติม เพื่อช่วยงานของนายกสมาคมฯ โดยหมุนเวียนไปตามวาระคือรอบละ 2 ปี ต่อเหล่า ดังนั้นหลักนิยมของสมาคมฯ เลขานุการจึงเป็นสมาชิกที่เป็นเหล่าเดียวกับนายกสมาคมฯ ที่จะช่วยประสานการทำงานให้คณะกรรมการและเหล่าทัพอื่นๆ ให้สอดคล้องสัมพันธ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำงานในลักษณะบูรณาการหรือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ Networking เป็นความคิดที่อดีตผู้บริหารสายแพทย์สี่เหล่าเล็งเห็นประโยชน์และนำมาใช้มากว่าสี่สิบปีแล้ว ถ้าจะใช้ภาษาสมัยปัจจุบันเรียกว่า มีวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ก้าวไกลมากว่าครึ่งศตวรรษแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางปัญญาของสมาชิกเหล่าแพทย์ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของตำแหน่งเลขาธิการ ที่ส่วนใหญ่เป็นของเหล่าทหารบกมาโดยตลอดนั้น ต้องมาศึกษาบทเรียนจากอดีตของ พล.ต.วิชัย ชัยประภา เลขาธิการ คนที่ 10 ชุดที่ 13-19 เล่าให้ฟังว่า
บทสุดท้าย หากเปลี่ยนผ่านนายกสมาคมฯ เหมือนหัวเรือ ที่เป็นผู้ชี้นำทิศทางขององค์กร เลขาธิการก็คงเหมือนนายท้ายเรือให้นาวานั้นๆ บรรลุเป้าหมาย คณะกรรมการเปรียบกับฝีพายกราบซ้ายขวา ที่เป็นเครื่องมือช่วยเร่งความสำเร็จ เลขานุการควรเป็นผู้ทำหน้าที่ นายธงให้สัญญาณธงหรือคอยชี้ทางคอยโบกให้จังหวะองค์กรนั้นๆ ถึงจะดำเนินธุระกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามสิ่งที่วาดหวังได้สำเร็จ สำหรับผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่เป็นลูกมือเลขาธิการและเลขานุการในส่วนของเลขาธิการด้านพ่อบ้านดูแลการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสมาคมฯ เบื้องหลัง
รายชื่อนายก/เลขาธิการ/เลขานุการ
ชุดที่ |
ปี |
นายกสมาคมฯ |
เลขาธิการสมาคมฯ |
เลขานุการสมาคมฯ |
1 |
2501-2502 |
พล.ต.ถนอม อุปถัมภานนท์ |
พ.อ.ชม ศรพัตต์ |
ร.อ.สำเริง อุทัยวรรณ |
2 |
2503-2504 |
พล.ร.ต.กมล ชัมพุนท์พงศ์ ร.น. |
น.อ.โกเมท เครือตราชู ร.น. |
พ.ต.สำเริง อุทัยวรรณ |
3 |
2505-2506 |
พล.อ.ต.เจือ ปุญโสนี |
น.อ.ชลิต จุลโมกข์ |
พ.ต.สำเริง อุทัยวรรณ |
4 |
2507-2508 |
พล.ต.ประภาคาร กาญจนาคม |
พ.อ.สุพจน์ ขวัญมิตร |
พ.ท.อารีย์ วิริยะ |
5 |
2509-2510 |
พล.ต.ต.แสวง วัจนะสวัสด์ |
พล.ต.สมุท ชาตินันทน์ |
พ.ต.สมพนธ์ บุณยคุปต์ |
6 |
2511-2512 |
พล.ร.ท.สนิท โปษะกฤษณะ ร.น. |
พล.ต.สมุท ชาตินันทน์ |
พ.ต.ปชุม ทาสุคนธ์ |
7 |
2513-2514 |
พล.อ.ท.ตระกูล ถาวรเวช |
พล.อ.ต.น้อย ปาณิกบุตร |
พ.ท.พิสนฑ์ ปันยารชุน |
8 |
2515-2516 |
พล.ท.ประเดิม พืชผล |
พ.อ.สอาด ประเสริฐสม |
พ.ท.นัดดาเนตร บุณยรัตพันธุ์ |
9 |
2517-2518 |
พล.ร.ท.ลักษณ์ บุญศิริ ร.น. |
พ.อ.สอาด ประเสริฐสม |
พ.ท.นัดดาเนตร บุณยรัตพันธุ์ |
10 |
2519-2520 |
พล.อ.ท.น้อย ปาณิกบุตร |
พ.อ.นัดดาเนตร บุณยรัตพันธุ์ |
พ.อ.วิชัย ชัยประภา |
11 |
2521-2522 |
พล.ต.ต.บรรจง สถิรแพทย์ |
พ.อ.นัดดาเนตร บุณยรัตพันธุ์ |
พ.อ.วิชัย ชัยประภา |
12 |
2523-2524 |
พล.ท.ยง วัชระคุปต์ |
พล.ต.สอาด ประเสริฐสม |
พ.อ.วิชา แสงเถกิง |
13 |
2525-2526 |
พล.ร.ท.บรรยงก์ ถาวรามร ร.น. |
พ.อ.วิชัย ชัยประภา |
พ.อ.วิชา แสงเถกิง |
14 |
2527-2528 |
พล.อ.ท.จีรัง จุลชาต |
พ.อ.วิชัย ชัยประภา |
พ.อ.วิชา แสงเถกิง |
15 |
2529-2530 |
พล.ต.ท.อุทิศ ตันจันทร์พงศ์ |
พ.อ.วิชัย ชัยประภา |
พ.อ.ไชยยนต์ ชัยประภา |
16 |
2531-2532 |
พล.อ.สิงหา เสาวภาพ |
พล.ต.วิชัย ชัยประภา |
ร.อ.ชะเลง ฉายวิโรจน์ |
17 |
2533-2534 |
พล.ร.ท.ฉันท์ กลกิจโกวินท์ ร.น. |
พล.ต.วิชัย ชัยประภา |
พ.ท.วิฑิตพล ประเสริฐสม |
18 |
2535-2536 |
พล.อ.ท.กิตติ เย็นสุดใจ |
พล.ต.วิชัย ชัยประภา |
พ.ท.วิฑิตพล ประเสริฐสม |
19 |
2537-2538 |
พล.ต.ท.ประเวสน์ คุ้มภัย |
พล.ต.วิชัย ชัยประภา |
พ.อ.วิฑิตพล ประเสริฐสม |
20 |
2539-2540 |
พล.ท.สุจินต์ อุบลวัตร |
พล.อ.ต.อวยชัย เปลื้องประสิทธ์ |
พ.อ.อิสสระชัย จุลโมกข์ |
21 |
2541-2542 |
พล.ร.ท.ไพบูลย์ ศรีเทพ ร.น. |
พล.ต.ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล |
น.อ.โสภณ รัตนสุมาวงศ์ |
22 |
2543-2544 |
พล.อ.ท.อวยชัย เปลื้องประสิทธิ์ |
พล.ต.ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล |
น.ท.ไกรเลิศ เธียรนุกูล |
23 |
2545-2546 |
พล.ต.ท.ภาสกร รักษ์กุล |
พล.ต.ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล |
พ.ต.อ.นพศักดิ์ ภูวัฒนเศรษฐ |
24 |
2547-2548 |
พล.ท.ประวิชช์ ตันประเสริฐ |
พล.ต.ประสาท เหล่าถาวร |
พ.อ.เหรียญทอง แน่นหนา |
25 |
2549-2550 |
พล.ร.ท.ยงยุทธ หรัญโต ร.น. |
พล.ต.กฤษฎา ดวงอุไร |
น.อ.หญิงพิณทิพย์ พันธ์มีเกียรติ ร.น. |
26 |
2551-2553 |
พล.อ.ท.อภิชาติ โกยสุขโข |
พล.ต.กฤษฎา ดวงอุไร |
น.อ.หญิงลลิตา บูรณกาล |
*อดีตเลขาธิการ
*ผู้ช่วยเลขานุการ
|