บันทึกของเลขาธิการ (ตอนที่ 2)
บริบทหนึ่งของกิจการทหารและตำรวจ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการปกครองบ้านเมืองหรือ บริหารราชการที่สืบเนื่องกันมานานนับแต่มีคำว่าชาติไทยนั้น งานอนุรักษ์กำลังรบหรืองานบริการ สุขภาพสำหรับทหาร ตำรวจและครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป จึงเป็นงานสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาอย่างยาวนานจากบันทึกของเลขาธิการ ในหนังสือวารสารการแพทย์ สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยในความอุปการะของกระทรวงกลาโหม ปีที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๒ ฉบับที่ ๑ ทำให้ทราบว่าความพยายามของนายแพทย์ใหญ่ทั้งสามเหล่าทัพและกรมตำรวจ เมื่อประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๙๘ ที่จะจัดตั้งศูนย์กลางสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านกิจการแพทย์ทหาร เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความ สัมพันธ์ระหว่างแพทย์ทหารและแพทย์พลเรือนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมากยิ่งขึ้นความเป็นรูปธรรมชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการอำนวยการชุดแรกได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย ในความอุปการะของกระทรวงกลาโหมเรียบร้อย เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๑ ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาสมาคมฯ
ในการนี้กรมแพทย์ทหารบกได้รายงานขอรับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ปีแรกของการดำเนินงาน
และยังคงได้รับการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญและเล็งเห็นประโยชน์ที่สมาคมฯ ได้ตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้บรรลุความมุ่งหมายที่กำหนดไว้มาโดยตลอด ๔๔ ปีที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง บนหลักการสำคัญคือการให้โอกาส หมุนเวียนสมาชิกจากทั้งสี่เหล่าทำหน้าที่อำนวยการและบริหารงานในทุกตำแหน่ง เว้นแต่ตำแหน่ง เลขาธิการที่คณะกรรมการอำนวยการแต่ละชุดส่วนใหญ่จะมอบความรับผิดชอบให้สมาชิกจากกรมแพทย์ทหารบกเป็นแกนหลักรับผิดชอบเพื่อเป็นการให้เกียรติและให้ความสำคัญต่อกรมแพทย์ทหารบก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งสมาคมฯ แห่งนี้ อีกทั้งยังเห็นว่าการประสานงานทางด้านธุรการและการงบประมาณ ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญในการดำเนินกิจการสมาคมฯ นั้น กรมแพทย์ทหารบกรับผิดชอบมาโดยตลอด สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕) สำนักงานเลขาธิการขอสรุปบันทึกข้อมูลไว้พอสังเขป ดังนี้
๑. มีคณะกรรมการอำนวยการ จำนวน ๒๒ ชุด
๒. มีสมาชิก จำนวน ๓,๐๐๙ นาย ประกอบด้วย
๒.๑ สมาชิกสามัญ ๒,๘๒๙ นาย
๒.๒ สมาชิกวิสามัญ ๕๗ นาย
๒.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ๑๒๓ นาย
๓. สถานที่ตั้งของสมาคม
๓.๑ กรมแพทย์ทหารบก (กองวิทยาการ) อำเภอพญาไท กทม. พ.ศ. ๒๕๐๑ พ.ศ.๒๕๑๒
๓.๒ สโมสรนายทหาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อำเภอพญาไท กทม. พ.ศ.๒๕๑๒- พ.ศ.๒๕๑๔
๓.๓ วังอัศวิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กทม. พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒
๓.๔ แหล่งชุมนุมนายทหารโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กทม. พ.ศ.๒๕๔๒ ปัจจุบัน
๔. หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีข้าราชการและเจ้าหน้าที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ
๔.๑ หน่วยขึ้นตรงของกรมแพทย์ทหารบก และกองทัพบก
๔.๒ หน่วยขึ้นตรงของกรมแพทย์ทหารเรือ และกองทัพเรือ
๔.๓ หน่วยขึ้นตรงของกรมแพทย์ทหารอากาศ และกองทัพอากาศ
๔.๔ หน่วยขึ้นตรงของสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนัก นายกรัฐมนตรี
๔.๕ โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหม
๔.๖ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
๔.๗ หน่วยขึ้นตรงของสำนักงานแพทย์ทหาร สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองบัญชาการทหารสูงสุด
๕. กิจกรรมที่สำคัญ๕.๑ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี รวม ๔๔ ครั้ง (ปีละ ๑ ครั้ง)
๕.๒ จัดการประชุมสัมมนาการศึกษาเคลื่อนที่ รวม ๓๔ ครั้ง
๕.๓ จัดแข่งขันกีฬาแพทย์สี่เหล่า รวม ๓๔ ครั้ง
๕.๔ จัดการประชุมสัมมนาวิชาการย่อย ปีละ ๑ ๒ ครั้ง
๕.๕ ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับสมาชิก รวม ๖๑ เรื่อง
บทสุดท้ายแห่งบันทึกฉบับนี้ จะขออนุญาตบันทึกเรื่องราวที่เป็นมงคลยิ่ง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงพลัง ศักยภาพ รวมทั้งความมุ่งมั่นของคณะกรรมการอำนวยการ ชุดที่ ๒๒ ที่ได้ทุ่มเทในการสร้างเสริมเกี่ยวกับศักดิ์ศรีแห่งสถาบันแพทย์ทหารตำรวจแห่งนี้คือการได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญสัญลักษณ์พระมหาพิชัยมงกุฎแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มาเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องหมายสมาคมฯ และสิ่งที่เป็นมหามงคลอย่างยิ่ง
สมควรเทิดทูนและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติราชการภายใต้ฝ่าลออลธุลีพระบาท คือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่วนที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔อันเป็นผลมาจากการที่เป็นสมาคมวิชาชีพที่ดำเนินงานมาอย่างยาวนาน สมาชิกมีโอกาสถวายงานรับใช้แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และพระบรมวงศานุวงศ์อย่างใกล้ชิดจำนวนมาก ทั้งนี้ ท่านองคมนตรีศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมฯ ได้อัญเชิญพระกระแสรับสั่งให้เหล่าแพทย์ทหารตำรวจได้ช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนในถิ่นห่างไกลทุรกันดารให้มากยิ่งขึ้นซึ่งแพทย์ทหารตำรวจจะมีขีดความสามารถและมีโอกาสที่จะสนองพระราชกระแสดังกล่าวดีกว่าแพทย์พลเรือนอื่นๆ ซึ่งคงเป็นโจทย์สำคัญที่คณะกรรมการอำนวยการของสมาคมฯ ชุดต่อ ๆ ไป จักต้องพิจารณาบทบาทหน้าที่ของสมาคมฯและแปรเปลี่ยนให้เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมต่อไป
|